แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

ศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี




จากโรงเรียนราชวิทยาลัย สู่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี และวิทยาลัยมหาดไทย นับร้อยปี ณ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อาคารหลังนี้ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
มิใช่เพียงโบราณสถาน แต่คือประจักษ์พยาน ที่จะบอกเล่าความเป็นไปของเมืองนนทบุรี จากอดีต…..สู่อนาคต


ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า
           อาคารหลังนี้สร้างขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.. 2453 โดยแบ่งพื้นที่มาจากที่ดินที่จัดซื้อไว้เตรียมสร้างเรือนจำมหันตโทษ(เรือนจำกลางบางขวาง) เดิมมีจุดประสงค์ให้เป็นโรงเรียนกฏหมายแต่เนื่องจากยังไม่มีบุคลากร จึงได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัยแทน ตัวอาคารใช้งบประมาณก่อสร้าง 559,868.69 บาท สร้างเสร็จและเปิดทำการสอนเมื่อ พ.. 2454 ต่อมาภายหลังโรงเรียนราชวิทยาลัยเลิกกิจการไป อาคารนี้จึงได้เป็นศาลากลาง จังหวัดนนทบุรีระหว่าง พ.. 2471-2535 หลังจากนั้นใช้เป็นที่ตั้งวิทยาลัยมหาดไทยมาจนถึง พ.. 2551 

            ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ประยุกต์ให้เข้ากับภูมิอากาศเขตร้อน หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในสมัยก่อน ตัวอาคารมีเนื้อที่รวม 2 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา เป็นอาคาร 2 ชั้นก่ออิฐถือปูน มี 7 หลัง วางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานกว้าง เชื่อมต่อด้วยระเบียงทางเดินทำด้วยไม้ที่สร้างยื่นออกมารอบอาคาร ช่วยป้องกันแสงแดด กับตัวอาคาร ด้วยคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและความสำคัญทางประวัติศาศาสตร์ กรมศิลปากรจึงขึ้นทะเบียนอาคารหลังนี้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.. 2524

ภาพอดีตนนทบุรีเมืองสวนผลไม้แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

อนุรักษ์งานฝีมือที่หาดูได้ยาก            
            เครื่องปั้นดินเผาชาวนนท์ นับเป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของศิลปะวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ และยังอนุรักษ์ให้คงอยู่เป็นมรดกแก่ลูกหลานต่อไป เพื่อให้ซาบซึ้งถึงความเป็นไทยที่นับวันแต่จะหาดูได้ยาก
 เทศบาลนครนนทบุรี และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรีจึงได้ร่วมอนุรักษ์งานฝีมือที่สืบเนื่องกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน และคงอยู่เพื่อให้ลูกหลานได้ภาคภูมิใจกับงานศิลปะที่มีเพียงหนึ่งเดียวในเขตนครนนท์แห่งนี้



วิจิตรศิลป์ถิ่นนนท์ เกียรติยศแห่งนนทบุรี
           ชื่นชมความงามของวิจิตรกรรมฝาผนังชั้นเยี่ยม อาทิ หนังใหญ่ทศกัญฐ์นั่งเมือง
, หุ่นละครเล็ก หนุมาน คณะสาครนาฎศิลป์, หม้อน้ำลายวิจิตร กลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดหรือแม้แต่ภาพแม่พระธรณีบีบมวยผมแห่งวัดชมภูเวกที่ได้รับการยกย่องว่างามที่สุดในประเทศไทย และมาทำความรู้จักกับบุคคลสำคัญของนนทบุรีที่มีผลงานดีเด่นระดับชาติ


ปั้นก้อนดินเหนียว สู่หม้อดินโบราณเมืองนนท์
กว่าจะเป็นหม้อดิน แหล่งศึกษาเทคนิคโบราณ












เครื่องปั้นดินเผาสัญลักษณ์แห่งนนทบุรี
             ประติมากรรมดินเผาขนาดใหญ่ 
หม้อน้ำลายวิจิตร” อันเป็นตราประจำจังหวัดนนทบุรี แกะรอยที่มาที่ไปของสัญลักษณ์ประจำจังหวัดนนทบุรีแห่งนี้

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ดและบ้านบางตระนาวศรี
            ชมต้นกำเนิดเครื่องปั้นดินเผาอันวิจิตรบรรจงฝีมือชาวมอญ จากแหล่งผลิต 2 แห่ง คือ บ้านเกาะเกร็ดและบ้านบางตระนาวศรี ด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากทั้งสองแห่ง จึงทำให้เครื่องปั้นดินเผาจากเมืองนนท์เป็นที่รู้จักกันดี

ภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผานนทบุรี
            ชมฉากจำลองขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามวิธีการดั้งเดิมของบ้านเกาะเกร็ดที่ไม่มีให้เห็นแล้วในปัจจุบัน

การค้าเครื่องปั้นดินเผานนทบุรีในอดีต
             ชมภาพดีตในยุคทองของการค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เกาะเกร็ดซึ่งกลับคืนชีวิตขึ้นใหม่ด้วยเทคนิคพิเศษและตามรอยวิถีการค้าของพ่อค้าเรือโอ่ง

แหล่งศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรม
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า ท่าน้ำนนท์ อ.เมือง จ. นนทบุรี
โทร
0-2525-0622, 0-2589-0500, 0-2589-0502 ต่อ 174-176

การเดินทาง
ทางบก : รถเมล์สาย 32, 63, 97, 114,117,175, 203, 543 และ 545
ทางน้ำ : เรือด่วนเจ้าพระยา  จากท่าช้างสุดทางท่าน้ำนนท์

เวลาทำการ
วันอังคาร
ศุกร์                                                  : เวลา  9.00  – 17.00 .
วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์              : เวลา 10.00 – 18.00 .





การบูรณาการแหล่งเรียนรู้นี้ ไปใช้ประโยชน์กับการเรียนการสอนนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

มาตราฐานการเรียนรู้ ส
4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
ตัวชี้วัดที่ 3/1 ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน
ตัวชี้วัดที่
3/2 สรุปลักษณะที่สำคัญของขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรมของชุมชน
ตัวชี้วัดที่
3/3 เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างทางวัฒนธรรมของชุมชนตนเองกับชุมชนอื่นๆ


            

            สถานที่แห่งนี้จึงถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญตามหลักสูตรการศึกษาที่สามารถทำให้ผู้เรียนได้เกิดองค์ความรู้ตามมาตราฐานตัวชี้วัดดังกล่าว นอกจากนี้เรายังจะสามารถจำแนกประเภทของแหล่งเรียนรู้นี้ได้ด้วยความหลากหลายทางศิลปะวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของที่แห่งนี้จึงจัดเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท บุคคล มีการจัดแสดงบุคคลสำคัญพร้อมกับผลงานที่ได้รับการยกย่องเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งถือเป็นตัวอย่าง ต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในอาชีพ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารบอกเล่าเรื่องราวในอดีตผ่านสิ่งประดิษฐ์ ขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ทางโบราณวัตถุ อีกทั้งยังจัดว่าเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพัง เช่น รูปทรงการออกแบบของตัวอาคาร รูปทรงของเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

ผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากการศึกษาแหล่งเรียนรู้
ด้านความรู้   ผู้เรียนเข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และ
                   การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง
ด้านเจตคติ   ผู้เรียนสามารถตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การสร้าง
                   คุณค่าในการอนุรักษ์วัฒธรรมของชุมชน
ด้านทักษะ    ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากการศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติจากผู้มีประสบการณ์
                   ในการสืบทอดเรื่องราวต่าง


            ศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี นับเป็นอีกหนึ่งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และทักษะด้านความคิดจากการได้ฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง รวมไปถึงการบูรณาการในสาระวิชาอื่นๆ ตามหลักของเครือข่ายการเรียนรู้ ด้วยวิธีการที่สืบทอดกันต่อๆมาคือ การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนและกระจายความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆโดยเฉพาะเกี่ยวกับชุมชนและความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาภายในชุมชน ในแต่ละชุมชน ซึ่งมักมักเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนนั้นๆและเป็นความรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสภาพที่เป็นจริงของชุมชน











1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นข้อมูลการเรียนรู้ ข้อมูลท้องถิ่นที่ดีมาก

    ตอบลบ